วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Building Focus : สร้าง Deck หลักมาไต่ Rank (Part 2)

ต่อจาก Part ที่แล้ว [Link]

          จะเห็นได้ว่าการเสริมแกร่ง Deck หลักสำหรับ ไต่ Rank ทั้ง 3 ขั้นตอนนั้น จำเป็นต้องสะสมการ์ดจำนวนหนึ่งเพื่อนำการ์ดเหล่านั้นมาสับเปลี่ยนกับ Basic Card ที่เราเคยใช้ เพื่อเสริมประสิทธิภาพ หรือเปลี่ยนแนวทางการเล่นให้เหมาะสมกับการไต่ Rank มากยิ่งขึ้น
        ทั้งนี้เราสามารถแบ่งวิธีการได้มาซึ่งการ์ดเหล่านี้ออกเป็น 3 วิธีหลักๆ คือ

1.) เปิดซองหา โดยตามปกติในแต่ละซองจะมีการ์ดทั้งหมด 5 ใบ และ มี Rare หรือ Epic หรือ Legendary อย่างน้อย 1 ใบเสมอ
ตอนนี้ HS มีซอง ให้เปิด 3 แบบคือ
Classic
Goblin Vs Gnome (GVG)
The Grand Tournament (TGT)

2.) Craft ใช้ Dust ที่ได้จากการย่อยการ์ด (Disenchant) Arena และ หีบท้าย Season สร้างการ์ด โดยอัตรา Dust ที่ต้องใช้ในการ Craft และ ที่ได้จากการย่อยมีดังนี้

  Type                      Craft               Disenchant
--------------------------------------------------------
Common                    40                       5
Rare                          100                      20
Epic                          400                    100
Legendary              1600                    400

3.) Adventure การ์ดบางใบสามารถได้มาจากการ Clear Adventure mode เท่านั้น ซึ่งตอนนี้ HS มี Adventure ให้เล่น 2 อันคือ

1. Curse of Naxxramas (Naxx)
การ์ดยอดฮิต : Mad Scientist , Haunted Creeper , Loatheb , Sludge Belcher , Death Bite , Shade of Naxxramas , Nerubian egg , Zombie Chow ฯลฯ (ดูรูปได้ที่นี่ [Link])

2. Blackrock Mountain (BRM)
การ์ดยอดฮิต : Emperor Taurissan , Nefarian , Cromaggus , Flamewaker , Imp Gang Boss , Quick shot ฯลฯ (ดูรูปได้ที่นี [Link])
-------------------------------
          จะเห็นได้ว่าการ์ดโดยส่วนใหญ่หาได้จากการเปิดซอง นอกจากนี้ การเปิดซองนั้นเรายังสามารถย่อย การ์ดซ้ำ (เกิน 2 ใบ ในกรณีของ Common , Rare , Epic และ เกิน 1 ใบ กรณี Legendary) เพื่อเอา Dust มาสร้างการ์ดที่เราต้องการในการปรับแต่งขั้น 1 และ 2 หรือ การสะสม Dust เพื่อ Craft Legendary นอกจากนี้ในช่วงต้นๆ ผมเสนอว่าควรย่อยการ์ดที่เห็นได้ชัดว่าอ่อนแอ (Under rated Card) และการ์ดทอง เพื่อนำ Dust ไปช่วยตั้งตัวในช่วงแรกๆ
           โดยแนวทางเบื้องต้นในการเลือกเก็บหรือย่อยการ์ดอาจดูได้จาก Clip ที่ Massan เคยทำไว้ [Link] (*หมายเหตุ *คลิปนี้ทำในช่วงก่อน TGT วางจำหน่าย)
-----------------------------------

Building Focus 

             คราวนี้มาถึงเรื่องการตั้ง Building Focus กันบ้าง แนวทางนี้พูดง่ายๆ คือ การกำหนดขอบเขตของการเปิดซองเพื่อสะสมการ์ดในการพัฒนา Deck หลักสำหรับไต่ Rank โดยควรกำหนดขอบเขตของซองที่จะเปิดให้อยู่ใน Pack 1 ประเภท และ 1 Adventure ทั้งนี้อาจยืดหยุ่นได้บางกรณี

โดยการกำหนดขอบเขตเช่นนี้ให้ข้อได้เปรียบ 2 อย่าง คือ
1. มี % ที่จะได้รับการ์ดกลุ่มที่ต้องการมากขึ้นกว่าการเปิดแบบประปรายหลายซอง
2. มีโอกาสที่จะได้การ์ดซ้ำมากขึ้น เพื่อนำไปย่อยเอา Dust ในช่วงแรกๆ

ซึ่งการที่เราจะสามารถจำกัดขอบเขตของซองที่จะเปิดให้ได้อย่างนี้ จำเป็นต้องอาศัยการกำหนด กลุ่ม Deck หลักที่เราจะพัฒนา ให้มีลักษณะที่ การ์ดในแต่ละ Deck มีที่มาจากแหล่งเดียวกันให้มากที่สุด
         กระบวนการทั้งหมดนี้ผมขอเรียกว่าการ Build ซึ่งในบทความนี้ผมขอเสนอแนวทางการ Build ที่ผมเห็นว่าเหมาะสมกับมือใหม่ (เนื่องจาก Deck ที่ได้จากการ Build เหล่านี้เล่นง่าย และไต่ Rank ได้จริงในระดับหนึ่ง) เป็น 3 แนวทางหลักๆ ดังนี้

1. Mech Build 

ซองหลักที่ใช้ : GVG
Adventure หลักที่ใช้ : Naxx
Deck ที่จะได้จาก Build นี้ : Mech Shaman , Mech Mage , Mech Rogue , Mech Worrior ฯลฯ
การ์ดจำเป็นที่อาจต้องหาเพิ่ม : Mirror Entity , Effigy , Antonidas (กรณี Mech mage)
                                                    : SI 7 Agent ,  Eviscerate (กรณี Mech Rogue)
                                                     : Earth shock (กรณี Mech Shaman)
--------------
รายละเอียดของ Card ประเภท Mech คุณ Yang ได้วิเคราะห์เอาไว้ค่อนข้างจะละเอียดอยู่แล้ว สามารถติดตามอ่านได้ที่นี่ [Link]
          Step การ Build รูปแบบนี้เน้นให้ความสำคัญกับการเปิดหา Set Mech พื้นฐาน และการ์ดที่เล่นกับ Mech เช่น Goblin Blastmage (Mage) , Tinker Town Technician  หรือ Power Mace (Shaman)


รวมไปถึง Card Mech เด่นๆ เฉพาะคลาส เช่น Whriling zap - o - matic (Shaman) Iron Sensei (Rogue) Snowchugger (Mage) เป็นต้น



จากนั้นจึงค่อยเปิด Adventure Curse of Naxxramas เพื่อเก็บการ์ดเฉพาะทาง เช่น Mad scientist , Death's bite (Warrior) , Loatheb ฯลฯ

-------------
ข้อดีของ Build แบบนี้คือ อาจได้ลุ้น Legendary สุดโหดอย่าง Dr.Boom (GVG) และแทบไม่ต้องใช้การ์ดจาก Adventure BRM และ TGT Pack เลย

จุดอ่อน
ในกรณีที่จะจัด Deck Mech Mage อาจจำเป็นต้องเปิดซอง Classic Pack หรือ TGT เพื่อหา Secret ที่จำเป็นได้แก่ Mirror Entity และ Effigy รวมถึงอาจต้อง Craft Antonidas มาใช้ด้วย

เช่นเดียวกันในกรณี Mech Rouge จำเป็นต้อง Craft SI 7 Agent และ Eviscerate มาใช้แต่ต้น

ส่วน Mech Shaman มีการ์ดจำเป็นจากชุดอื่นคือ Totem Golem (TGT) และ Earth Shock (Classic) แต่ถึงขาดก็ยังพอเล่นได้

ส่วน Mech Warrior นั้นแทบไม่จำเป็นต้องใช้การ์ดจากชุดอื่นเพิ่มเลย
-------------------------------------
คหสต. Build นี้ผมค่อนแนะนำ เพราะจัดง่าย เล่นง่าย หวังผลได้ และครอบคลุม Hero หลาย คลาส
--------------------------------------

2. Dragon Build

ซองหลักที่ใช้ : TGT
Adventure หลัก : BRM
Deck ที่จะได้จาก Build นี้ : Dragon Priest , Dragon Warrior , Dragon Paladin
การ์ดจำเป็นที่อาจต้องหาเพิ่ม : มังกรคนรวย (Ysera หรือ Alextraza จาก Classic)
                                                      Azure Drake (Classic)
                                          Priest : Cabal Shadow Priest (Classic) , Dark cultist (Naxx) ฯลฯ
                                       Paladin : Aldor Peace Keeper (Classic) , Shielded minibot (GVG) ฯลฯ
------------------------
       Build นี้อาจทำให้หลายคนทำหน้านิ่วแล้วบ่นว่า เชี่ยนี่มันละเมอหรือไง ให้เด็กใหม่เล่นมังกรเนี่ยนะ

       ครับ Deck Dragon ตัวเต็มต้องใช้ Card แพงๆ 2 -3 ใบ เช่น Chillmaw หรือ Ysera แต่สำหรับผมแล้ว Deck มังกร (Dragon) ที่พอเล่นได้นั้นใช้มังกรที่ได้จาก BRM ร่วมกับ Minion ที่เล่นกับมังกรใน TGT ก็พอไปวัดไปวาได้ในระดับหนึ่ง

Step ใน การ Build รูปแบบนี้จะต่างกับแบบแรก คือ เปิด Adventure BRM ก่อน เพื่อเอาโครง Deck มังกรที่สำคัญๆ เช่น Twilight Whelp , Nefarian , Chromaggus , Blackwing Corruptor , Black Wing Technician และ Dragon Consort (รวมไปถึงการ์ดยอดนิยมอย่าง Emperor กระสอบทรายด้วย)



       จากนั้นจึงค่อยเริ่มเปิด TGT Pack เพื่อหาของเสริมมังกร อย่าง Wyrmrest Agent และมังกรหลักอีก 2 ตัวคือ Twilight Guardian และ Chill Maw


          อย่างไรก็ตามสายนี้มีจุดอ่อนสำคัญคือต้องการการ์ดจาก Pack อื่นหลายใบ เช่น Azure Drake และ Ysera จึงจะสามารถดึงประสิทธิภาพสูงสุดของ Deck มังกรออกมาได้ ซึ่งอาจรวมไปถึง Dr.ฺBoom ด้วย และ Chillmaw เองก็ไม่ได้หามาง่ายๆด้วยเช่นกัน


            นอกจากนี้การที่ Build รูปแบบนี้ต้องการโครง Deck หลักจาก Adventure ตั้งแต่แรกๆ จึงเหมาะกับผู้เล่นใหม่สาย Semi F2P คือสายที่เติมเงินเพื่อเปิด Adventure เพื่อประหยัดเวลา แต่ไม่เปิด Pack เพิ่ม มากกว่า Pure F2P (ไม่เติมเลยในทุกกรณี)
            ส่วนตัวผมว่า Build นี้เหมาะกับผู้เล่นใหม่ที่อยากลองเล่น Control หรือ Mid range แบบที่ไม่ต้องพึ่งพลังบัตรเครดิต มากนัก
--------------------------

3. Zoo - Aggro Build

ซองหลักที่ใช้ : Classic
Adventure หลัก : Naxx wing 1 + BRM
Deck ที่จะได้จาก Build นี้ : Zoo warlock , Face Hunter , Tempo mage + other Aggro Decks
การ์ดจำเป็นที่อาจต้องหาเพิ่ม : Piloted Shreder (GVG) , Mechanical Yeti (GVG)

                 Warlock : Dark bomb (GVG) Implosion (GVG)
                 Face Hunter : Glaivezooka (GVG) Mad Scientist (Naxx wing 4 มั้ง ?)  ฯลฯ
                Tempo Mage : Mad Scientist (Naxx)   Effigy (TGT) Spell Slinger (TGT) ฯลฯ
-----------------------------
          Build สายนี้เป็นสายยอดนิยมสำหรับผู้เล่นใหม่มาตั้งแต่สมัยก่อน เพราะของใช้แทบทุกอย่างหาได้จาก ซอง Classic Pack และส่วนมากมีระดับไม่เกิน Rare โดยการ์ดเด่นๆของ Build นี้อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย

3.1 Zoo การ์ดเด่นได้แก่ Leper Gnome , Flame Imp , Dire wolf Alpha ,  Knife Juggler , Doom Guard Defender of Argus จาก Classic Pack + ไข่แมงมุม กับ Haunted Creeper จาก Naxx wing 1 และ Imp Gang Boss จาก BRM

3.2 Face Hunter : Leper Gnome , Abusive sergeant , Knife Juggler , Arcane Golem , Trap ต่างๆ จาก Classic Pack + Haunted Creeper จาก Naxx wing 1 และ Quick Shot จาก BRM

3.3 Tempo mage : Mana Wyrm , Sorcerer's Apprentice , Mirror Entity  Azure Drake , Antonidas จาก Classic Pack + Flame waker จาก BRM
--------------------
      Step การ Build คล้ายๆ Mech build คือเปิดซองหลักก่อน แล้วจึงเปิด Adventure เพื่อหาตัวเสริมของแต่ละคลาส โดยเปิด Adventure Naxx ก่อน 1 wing เอาไข่กับ Haunted Creeper แล้วค่อยเปิด BRM เต็ม
---------------------------
      สายนี้มีจุดอ่อนคือ จำเป็นต้อง Craft ตัวร่าย 4 เก่งๆ อย่าง Piloted Shreder หรือ Mechanical Yeti มาใช้เอง (ไม่นับ Face Hun ที่อาจไม่ใส่ร่าย 4 ใน Deck) นอกจากนี้สำหรับ Tempo mage กับ Face Hunter อาจจำเป็นต้องเปิด Naxx ลึกไปถึง Wing 4 เพื่อเอา Mad Scientist ซึ่งเป็นใบที่จำเป็นมาก

      จุดอ่อนอีกประการของสายนี้คือ ซอง Classic เป็นซองที่มีจำนวนแบบของการ์ดหลากหลายที่สุด ดังนั้นการเปิดให้ได้การ์ดใบที่ต้องการโดยเร็วอาจทำได้ยาก ทำให้เราอาจต้อง Craft การ์ดหลักบางใบมาใช้เองเช่น Knife Juggler , Doom Guard , Trap ของ Hunter , Mana Wyrm , Sorcerer's Apprentice , Azure Drake เป็นต้น ที่สำคัญคือถ้าอยากได้ Dr.boom แน่นอนว่า Craft เอาเอง -*-
------------------------------------------
       Build นี้สร้างช้ากว่า Mech build แต่ถ้าได้ Card หลักๆ มาครบ จะสามารถจัด Deck ได้หลากหลายที่สุดในบรรดา 3 Build เลยก็ว่าได้ (คหสต.)
--------------------------

       Build ทั้ง 3 รูปแบบนี้ เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น ในการสร้าง Deck หลักที่สามารถไต่ Rank ได้ไม่ยากลำบากจนเกินไป  ทั้งนี้ในโลกของ Hearthstone ยังมี Deck ที่น่าสนใจอีกหลายรูปแบบซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Website ชั้นนำ เช่น
hearthpwn.com หรือ hearthstonetopdeck.com หรือในกลุ่ม Hearthstone Thailand Community ครับ

          หวังว่าบทความนี้จะพอเป็นประโยชน์กับผู้เล่นใหม่ให้สามารถสนุกกับเกมได้อย่างเต็มที่ และมีแนวทางในการพัฒนา Deck และ ฝีมือให้สามารถยืนหยัดต่อกรกับผู้เล่นอื่นๆ ได้อย่างสูสีและสนุกสนาน

           สุดท้าย Fair & Square GG Well play ครับ

Picture Credit : http://www.hearthpwn.com
PS : ข้อแนะนำและข้อสังเกตต่างมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน โปรดใช้ปลาวาฬ เอ้ย วิจารณญานในการอ่านครับ




Building Focus : สร้าง Deck หลักมาไต่ Rank (Part 1)

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน  ต่อเนื่องจาก entry ที่แล้ว [link]

  Entry นี้ผมอยากจะแชร์แนวทางพื้นฐานในการจัด Deck สำหรับผู้เล่นใหม่ และการตั้ง focus ในการสร้างเดค (Building focus) ซึ่งหมายถึงการวางเป้าหมายในการเก็บสะสมการ์ด และการสร้างการ์ด (Craft) ไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เพื่อให้ผู้เล่นใหม่สามารถสร้างเดคที่พอจะสามารถต่อกรกับผู้เล่นเก่าในการไต่แรงค์ได้อย่างไม่ยากลำบากจนเกินไป

Why Rank ? - ไต่แล้วไปไหน
   เนื่องจาก HS ได้เพิ่มระบบหีบโบนัสหลังจบ season เข้ามา ซึ่งของรางวัลที่ผู้เล่นจะได้รับขึ้นอยู่กับระดับ rank สูงสุดที่ผู้เล่นเคยไปถึงใน season นั้น (สมมุติผู้เล่นเคยไปถึง rank 5 แต่แพ้รัวๆ จนวันรีเซต season ตกมาอยู่ rank 11 หีบรางวัลที่ได้จะเป็นหีบของ rank 5) โดยรายการรางวัลของหีบท้ายซีซัน สามารถดูได้จาก [link] ซึ่งโบนัสจากการไต่แรงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไปถึง Landmark สำคัญอย่าง rank 9 หรือ rank 5 นับได้ว่าคุ้มค่ากับความยากลำบาก ด้วยเหตุนี้ คหสต.จึงเห็นว่า การสร้างเดคเพื่อไต่ rank จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญในการสร้างเนื้อสร้างตัวในเกมนี้

  การให้รางวัลเช่นนี้ได้ดึงดูดผู้เล่นจำนวนมากเข้าสู่ Rank mode ทำให้การไต่แรงค์เป็นงานที่โหดหินกว่าแต่ก่อนพอสมควร 
ความยากที่สูงขึ้นของการไต่แรงค์ ส่งผลให้ผู้เล่นใหม่จำเป็นที่จะต้องสร้างเดคที่มีความแข็งแกร่งในระดับที่พอจะต่อกรกับผู้เล่นเก่าได้โดยเร็วซึ่งอาจใช้เดคหลักเพียง 1-2 เดคก็อาจเพียงพอ ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ผู้เล่นใหม่จะต้องกระทำคือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเดคหลัก 1-2 เดคนั้นไปเรื่อยๆ ทั้งนี้อาจแบ่งขั้นตอนการเสริมแกร่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ

1. หา Common หรือ Rare ที่มี Stat ดี (เช่น ร่าย 2 ได้ 2/3 หรือ 3/2 , ร่าย 4 ได้ 4/5) และมีความสามารถพิเศษ มาใช้

 >จะสังเกตได้ว่า Basic Card ที่เกมให้มาในตอนแรก จะมี Stat ที่โอเค แต่มักจะเป็น "การ์ดเหลือง" คือ มีแต่พลัง ไม่มีความสามารถพิเศษ แต่เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มพบเจอการ์ดที่มี Stat เท่ากัน แต่มี ความสามารถ แถมมาด้วย 

เช่น Knife Juggler ซึ่งมี Stat ร่าย 2 ได้ 3/2 เท่ากับ Bloodfen Raptor แต่ได้ ความสามารถ สุดโหดอย่างสุ่มยิง 1 Dmg ใส่คู่ต่อสู้ เมือมีการร่าย Minion 



หรือ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Mechanical Yeti ซึ่งมี Stat ร่าย 4 ได้ 4/5 เท่ากับ Chillwind Yeti แต่มี ความสามารถเมื่อถูกทำลาย (Deathrattle) แถม Spare part (การ์ด Spell ร่าย 1 มี ความสามารถเล็กๆน้อยๆ เช่น +1 HP) ขึ้นมือเราและฝ่ายตรงข้าม
 


        นอกจากนี้การเสริมแกร่งในขั้นตอนนี้อาจทำได้อีกแนวทางหนึ่งคือ เลือก Minion ที่อาจมี Stat ด้อยกว่า Basic card แต่มี ความสามารถที่รุนแรงกว่ามาก เช่น Minion ค่าร่าย 4 อาจเลือกใส่ Piloted Shredder ที่มี Stat ด้อยกว่า Chillwind Yeti แต่มีความสามารถ เมื่อตาย จะสุ่มเรียก Minion ค่าร่าย 2 เข้ามาในสนาม 1 ใบ ซึ่งอาจได้ตัว Stat โหดๆ (ที่ปกติไม่มีใครใส่เพราะถ้าร่ายมันจากมือ จะเกิดผลเสียที่รุนแรง) เช่น Mill house Manastorm (ร่าย 2 ได้ 4/4) หรืออาจได้ตัวนำความ ..ิบหาย อย่าง Doom Sayer (ร่าย 2 ได้ 0/7 มี ความสามารถ เมื่อเข้าเทิร์นเรา ถ้ามันอยู่ในสนาม ระเบิดมอนทั้งสนามทั้ง 2 ฝ่าย) 





2. หาการ์ดเฉพาะทางต่างๆ 

    >หลาย Deck ที่เราอาจได้ยินชื่อกันบ่อยๆ เช่น Face Hunter , Mech Mage , Uther and The Chamber of secret ฯลฯ ซึ่งจะพบได้ทั่วไปเมื่อไต่ Rank ขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง หากสังเกตจะพบว่า Deck พวกนี้จะมีการ์ดเฉพาะทางที่เป็น Rare , Epic หรือ การ์ดจาก Adventure ตัวอย่างเช่น 

>Mad Scientist ขาประจำของ Deck Hunter และ Mage เกือบทุกสาย ซึ่งมี ความสามารถในการดึง Secret 1 ใบจาก Deck มาติด เมื่อมันตาย ซึ่งหาได้จาก Curse of Naxxarmass Adventure 
>Goblin Blastmage ตัวโหดสัสรัสเซีย ของ Deck Mech Mage มี ความสามารถเมื่อลงมาในสนามยิง 1 Dmg แบบสุ่ม 4 ครั้งใส่ฝ่ายตรงข้าม ถ้าในสนามเรามี Minion ประเภท Mech เปิดหาได้จากซอง GVG Pack
>Mysterious Challenger แกนหลักของ Deck พ่อพวงมาลัย (Paladin Secret) หาได้จาก TGT Pack
ฯลฯ

 ซึ่งการ์ดเฉพาะทางเหล่านี้จะส่งผลให้ Deck ไต่แรงค์พวกนี้ มีลักษณะการทำเกมที่แตกต่างออกไปจาก Basic Deck หรือ Deck ที่เพิ่งปรับแต่งในขั้นแรกอยู่ค่อนข้างมาก และมี Option ในการแก้เกมที่หลากหลายกว่า โดยการเล่น Combo ระหว่างการ์ดหลายใบ กล่าวคือการ์ดพวกนี้โดยส่วนใหญ่เน้นการเล่นคอมโบมากกว่า Stat หรือ Ability ติดตัวเพียวๆ อย่าง Taunt หรือ Charge (ลงมาไม่ติด ZZZ ตีได้เลย) นั่นเอง
  ทั้งนี้การ์ดเฉพาะทางเหล่านี้ควรหาอะไรมาใช้บ้าง สามารถหาดูได้จาก Deck list ที่เผยแพร่กันโดยทั่วไป เช่น ในเว็บ Hearthpwn หรือ Hearthstone top deck เป็นต้น

3. Find Complementary Factor - หนทางสู่ความสมบูรณ์แบบ 

  >ขั้นนี้คือการหาการ์ดระดับสูง อย่าง Epic หรือ Legendary ที่จะช่วยเติมเต็มให้ท่านสามารถยืนระยะสู้ในช่วงท้ายเกมได้ หรือในบางกรณี การ์ดระดับสูงพวกนี้คือแนวทางการปิดเกมของ Deck เลยทีเดียว 

ตัวอย่างเช่น Dr.Boom ซึ่งเป็น Legendary ที่ผมแนะนำว่าควรหามาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ (เมื่อผ่านการปรับแต่งในขั้นตอนที่ 1 และ 2 แล้ว) เนื่องจากเป็นทั้งตัวตั้งบอร์ดที่สร้างแรงกดดันได้สูงอย่างรวดเร็ว หรืออาจใช้เป็นตัวตอกตะปูปิดฝาโลงได้ในบางจังหวะ 
อีกตัวอย่างคือ Antonidus พ่อเฒ่า AHA! (โคตรเกลียดเสียงมันเลยบ่องตง) ที่เป็นเหมือนไพ่ตายสุดฮิตของ Mech Mage หรือ Tempo mage (Flame waker - Mage) การใส่ลุงแกใน Deck เป็นเหมือนไพ่ตายที่ช่วยให้เราสามารถปิดเกมได้ในกรณีที่บรรดาหุ่นกระป๋องไอร่อนแมน (Mech Mage) หรือ "หน้าไหม้" (Flame waker) ของเรายำเขาไม่ตายในช่วงต้นเกม และโดนดึงเกมยาว



   อย่างไรก็ตาม การปรับแต่งในขั้นตอนนี้ ถ้าไม่ทำบุญมหากุศล สร้างมหาวิหาร มาแต่ชาติปางก่อน เปิดได้ใบพวกนี้ ตั้งแต่แรกๆ (เปิดได้ Legendary ว่ายากแล้ว เปิดให้ได้ของใช้งานนั้นยากยิ่งกว่า) ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ Dust มากถึง 1600 Dust ต่อ 1 ใบ จึงอาจยังไม่สามารถทำได้ในช่วงแรกๆ ด้วยเหตุนี้ การสะสม Dust จากการไต่ Rank และ การหมั่นย่อยการ์ดซ้ำ หรือการ์ดทอง (ย่อยแล้วจะได้ Dust มากกว่าปกติ) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดลำดับความสำคัญการ Craft Legendary แต่ละใบ ตามประโยชน์ใช้สอย (โดยอาจดูแนวทางได้จากบทความของคุณ Yang แห่ง Murloc land ที่นี่ [Link]

   เพียงเท่านี้ท่านก็จะมี Deck ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะใช้สำหรับไต่ Rank ในแต่ละ Season ได้อย่างไม่ยากลำบากแล้ว จากนั้นเมื่อท่านสะสม Gold และ Dust ได้มากเพียงพอ ก็อาจจะเริ่มการขยาย line ธุรกิจของท่านไปยังสาย Hero อื่นๆ ที่ปกติเอาไว้เก็บเควสประจำวัน ให้สามารถเก็บเควสได้ง่ายขึ้น หรือเอาไว้ใช้ไต่ Rank เมื่อ Meta Game (Deck ยอดนิยม) เปลี่ยนไป จน Deck หลักเดิมเริ่มใช้งานลำบาก

  ** ทั้งนี้ มีหลาย Deck ที่ผมเห็นว่าสามารถใช้ไต่ Rank ได้ในระดับหนึ่งและอาจไม่จำเป็นต้องใช้ Legendary ซึ่งผมจะได้รวมตัวอย่าง Deck ไว้ในอีก Entry หนึ่ง ตาม Request ของคุณ Grid Jumrernpruek**

            อย่างที่กล่าวไปใน Entry ที่แล้วว่า การเปิดซอง (Pack) ดูจะเป็นวิธีการที่คุ้มค่าที่สุดในการสะสมการ์ด เพื่อปรับแต่งในทั้ง 3 ขั้นตอน ข้างต้น อย่างไรก็ตาม การเปิดซองเพื่อสะสมการ์ดที่ผมเห็นว่ามีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือการเน้นเปิดซองใดซองหนึ่งตามแนวทางการสร้างเดค (Building Focus) ที่เราตั้งไว้
        
ซึ่งใน Part 2 จะว่าด้วยเรื่อง Building Focus รูปแบบต่างๆ และแนวทางการสะสมการ์ด ตาม Focus นั้นๆ 

Picture Credit : http://www.hearthpwn.com

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

1st Step : ตั้งตัวอย่างไรใน Hearthstone

สวัสดีครับ ผม เทียน ชื่อในเกมคือ Kuroda พอดีว่าช่วงนี้พอจะมีเวลาว่าง จึงอยากจะลองเขียนบทความเกี่ยวกับเกม Hearthstone เพื่อช่วยเหลือให้ผู้เล่นที่พึ่งจะเข้ามาลองสัมผัสความสนุกสนานของเกมนี้ได้ไม่นานสามารถพัฒนาชุดการ์ด (Deck) ของตัวเองให้พอจะสามารถทำเควสประจำวัน หรือไต่ Rank เพื่อเอารางวัลตอนจบซีซั่นได้อย่างไม่ยากลำบากจนเกินไป

ทั้งนี้จากการสังเกตพบว่าคำถามหนึ่งที่ผู้เล่นที่เพิ่งเริ่มเล่นได้ไม่นาน หรือผู้เล่นที่ไม่เน้นการเติมเงิน (F2P Player) มักจะถามกันบ่อยๆ ในกลุ่ม Hearthstone Thailand Community คือ เงินที่ได้มาทั้งจากการชนะครบ 3 ครั้ง ทำเควสประจำวัน ทำเควสพิเศษ ฯลฯ ควรจะเอาไปทำอะไรดี

วันนี้ผมอยากจะลองแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้เล่นใหม่สามารถสนุกสนานไปกับเกมได้ และต่อกรกับผู้เล่นคนอื่นได้อย่างไม่ยากเย็นมากนัก

เริ่มเกมมาควรทำอะไรก่อน
      หลังเคลียร์โหมดฝึกเล่นได้แล้ว สิ่งแรกที่ควรทำคือการปลดล็อค Hero ทั้งหมดให้ครบ และเล่นโหมดฝึกซ้อม (Practice) ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเก็บ Basic card ของทุกคลาสให้ครบก่อน (Lv ของ Hero ทุกตัว 10 ขึ้นไป) ซึ่งจะช่วยให้เรามี Deck สำหรับเก็บเควสประจำวันได้ทุกคลาส (ช่องทางทำมาหากินหลัก)  โดยเราสามารถวางโครง Deck หลักเหมือนกันสำหรับ Hero ทุกตัวและเสริมการ์ดเฉพาะของแต่ละคลาสให้ครบ 30 ใบ

ตัวอย่าง



    จากตัวอย่างจะเห็นว่า ทั้งสอง Deck ใช้ โครง Deck ใกล้เคียงกัน เสริมด้วย Basic Card หรือ Common Card ประจำคลาสเพื่อขับเน้นจุดเด่นของ Hero เช่น Druid ใส่ ใบเพิ่ม Mp อย่าง Innervate และ Wild Growth เพื่อให้ลง Minion ขนาดกลางได้ตั้งแต่ช่วงต้นๆ เกม  ในขณะที่ Mage มีใบ Mass clear ที่รุนแรง มากๆ อย่าง Flame Strike และ มีใบยิงปิดสุดโหดอย่าง Fire ball เป็นต้น

    ทั้งนี้ถ้าเล่น Hero ที่เน้นการบุก เช่น Hunter , Warlock อาจพิจารณาใส่ Minion ค่าร่าย 2 ที่เน้นด้านพลังโจมตี มากกว่าพลังชีวิต เ่ช่นเลือกใส่ Acidic Swamp Ooze หรือ Bloodfen Raptor แทน River Crocolisk  เป็นต้น

    ในช่วงแรกๆ การเก็บเควสแนะนำว่าเก็บใน Rank mode ครับถ้า Rank เรายังอยู่ในช่วง 25 - 21 อย่างน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ไปเจอ พวกโหดๆ ที่เขาเอา Deck มา Test ใน Casual Mode แม้จะเจอไม่ค่อยบ่อย แต่เจอทีก็จิตตกไม่น้อย (นึกสภาพเราใช้ Basic Deck แล้วโดน Dr. 7 ลงมายืนยิ้ม) ทั้งนี้หากเราเลย Rank 20 ไปแล้ว การเก็บเควสใน Rank Mode เราอาจจะแพ้บ่อยขึ้นแต่ก็ถือซะว่าเป็นการฝึกฝนครับไม่ต้องคิดมาก

ได้เงินก้อนครั้งแรก !! ทำไรดี
      อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่านี่เป็นหนึ่งในคำถามยอดนิยมที่ผู้เล่นใหม่ถามกันค่อนข้างมาก เนื่องจากเมื่อเริ่มเล่นใหม่ เกมจะให้ Quest พิเศษ เช่น เก็บ Hero ครบ , เก็บ Basic Card ครบ ฯลฯ ซึ่งจะให้รางวัลเป็นเงินก้อนจำนวนมากพอสมควรเพื่อให้ผู้เล่นใหม่ตั้งตัว
       ทั้งนี้จากการสังเกตในกลุ่ม HS Thailand Community อาจแบ่งคำแนะนำออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ

1. สายคลาสสิค ลง Arena สิ นาย

    เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในคำแนะนำสุดคลาสสิคตั้งแต่อดีต เพราะนอกจากจะการันตีซอง 1 ซอง โดยจ่ายเงินเพิ่ม 50 Gold (เปิดซองจ่าย 100 เปิดอารีน่า 150) แล้ว ยังช่วยให้ได้ฝึกฝนการคิดคำนวนทั้งการจัดเดคโดยคำนึงถึงความสมดุลของค่าร่าย (การจัดเดคใน Arena จะให้เราเลือกฮีโร่ และการ์ดจากที่เกมสุ่มมาให้ ซึ่งแทบไม่ต้องหวังเลยว่ามันจะคอมโบสวยหรูได้เหมือนเดคที่เราจัดเอง) , การคำนวนเทมโป (การร่าย Minion หรือ Spell ในแต่ละเทรินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด , การเทรด (ตีแลกเพื่อกำจัด Minion ตัวหลักของฝ่ายตรงข้ามเพื่อรักษาความได้เปรียบในสนาม) ฯลฯ

   แต่จุดอ่อนหลักของการสร้างตัวแบบนี้คือ การลง Arena 1 ครั้งต้องใช้เงิน 150 G คิดง่ายๆ เท่ากับว่า หากลง 2 ครั้ง (ใช้ 300 G) แล้วชนะไม้คุ้ม (0-3 , 1-3) เท่ากับเสียโควต้าเปิดซองไป 1 ซอง นอกจากนี้ซองที่ได้จากการลง Arena เราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะเปิดซองอะไร ทำให้เราได้ของที่ค่อนข้างจะกระจัดกระจาย ไม่สามารถ Build Deck ที่เน้นไปทางใดทางหนึ่งได้ในเวลาอันสั้น หรือต้องย่อยการ์ดเพื่อเอา Dust มาคราฟการ์ดที่เราต้องการเป็นจำนวนมาก หลังๆมานี้ แนวทางการตั้งตัวแบบนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่แนะนำสำหรับผู้เล่นใหม่ แต่เหมาะกับผู้เล่นที่มีการ์ดหลักครบในระดับหนึ่ง และพยายาม "ฟาร์ม" เพื่อเก็บเงินเปิดซองหาการ์ดในระดับสูงๆ (Epic - Legendary)

2. เปิด Adventure สิครัส

  แนวทางนี้นับได้ว่าเห็นอยู่พอสมควร เนื่องจากข้อดีที่การลง Adventure (Curse of Naxxramas และ Blackrock Mountain) การ์ดที่ได้รับภายหลังเคลียสำเร็จจะได้อย่างตายตัว และโดยมากเป็นการ์ดที่สำคัญกับ Deck ยอดนิยมหลาย Deck เช่น
----
Mad Scientist สำหรับ Deck Hunter และ Mage เกือบทุกสาย
Loatheb ตัวกลางเกมที่ Stat ไม่น่าเกลียด และตัดเกมได้เจ็บแสบ
Sludge Belcher ตัว Taunt (ต้องตี Minion ที่มี Taunt ก่อน จึงจะตีหน้า หรือ ตีเป้าอื่นได้) 2 จังหวะ ที่แทบจะขาดไม่ได้ของ Deck Control หรือ Mid range
Emperor Thaurissan มิตรรักนักเล่น Control ฯลฯ
----
 

 Picture CR : http://www.hearthpwn.com/

     แนวทางการสร้างตัวแบบนี้มีจุดอ่อนตรงที่การเปิด Adventure นั้นใช้เงินในเกมค่อนข้างมาก (700 G ต่อ 1 Wing แต่ละ ADV มี 5 Wing = 3500 G -*-) ด้วยเหตุนี้สำหรับผู้เล่นใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายที่ไม่ต้องการเติมเงินเลย จะต้องนั่งเก็บเงินกันตาแฉะ และต้องไม่แตะต้องสิ่งล่อใจ เช่นการเปิดซอง หรือลง Arena นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนอีกประการคือ การจะได้การ์ดแต่ละใบมา เราจะต้องตบ Boss แต่ละชั้นซึ่งเล่นโดย NPC ให้ชนะเสียก่อน ซึ่ง Boss ห่านพวกนี้ บางตัวก็โหดไม่น้อย ถ้า Deck เราไม่แข็งในระดับหนึ่งก็อาจล้มพวกมันได้ยากลำบาก

3. เปิดซองสินาย

    ส่วนตัวคิดว่าแนวทางนี้กลายเป็นแนวทางยอดนิยมในปัจจุบัน ซึ่งซอง HS ตอนนี้มีออกมา 3 ชุดหลักคือ Basic Pack , Goblin VS Gnome Pack (GVG) และ The Grand Tournament Pack (TGT) โดยการ์ดในทั้ง 3 Pack จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

Basic Pack > จะเป็นการ์ดพื้นฐานที่มีความสามารถหลากหลาย และโดยมากมักใช้เป็นพื้นฐานของ Deck โดยทั่วไป
---------------
>จุดเด่นของ Pack นี้คือ มี Legendary ที่นิยมใช้งานเยอะที่สุด เช่น Ragnaros , Antonidas , Sylvanas , Ysera ฯลฯ และมีการ์ดระดับ Rare ที่ใช้งานได้ดีหลายใบ เช่น Knife Juggler , Defender of Argus , Azure Drake ฯลฯ

>จุดอ่อน มีการ์ดที่เคยนิยมใช้ในอดีตแต่ไม่ค่อยนิยมใช้ในปัจจุบันอยู่หลายใบ ทำให้บางครั้งเกิดอาการ 40 ดัส (ได้แต่ของที่....) บ่อยๆ
---------------------------------------
GVG Pack > โดดเด่นที่การ์ดประเภท Mech ซึ่งมี Stat ที่ดี และเล่น Combo กันเองได้ ที่สำคัญ การ์ด Mech ที่นิยมใช้งานส่วนมากเป็น Rare หรือ Common จึงทำให้การจัดเดค Mech ไม่ต้องใช้ Gold และดัสมากมายเท่าไหร่นัก
----------------
>จุดเด่น คหสต. Common ชุดนี้โหดกว่า Common ชุดอื่นๆ ค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด มีใบที่นิยมใช้กันแม้แต่ใน Format การแข่งขันอย่าง Piloted Shredder หรือ Antique Healbot ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี Rare ที่จำเป็นสำหรับการจัด Deck สาย Mech หลายใบ เช่น Goblin Blastmage ของ Mage หรือ Power Mace ของ Shaman และจุดเด่นสุดท้ายคือ Dr.Boom -*-

จุดอ่อน > มีการ์ดในชุดไม่มากแบบนัก ทำให้เปิดไปซักพักการ์ดทั้งหมดจะเริ่มกลายเป็นดัส - -'
--------------------------------------
TGT Pack  > เน้นการ์ดที่มีความสามารถ inspire และการ์ดที่เล่นกับ Hero Power และการ์ดที่เปิดกองแข่งกับฝ่ายตรงข้าม หากเราเปิดได้ Minion ที่มีค่าร่ายสูงกว่า จะเกิดความสามารถที่รุนแรง (?) ซึ่งทั้งสองความสามารถนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับเกมนั่นเอง
-------------
จุดเด่น > มีการ์ดที่น่าสนใจ สามารถสร้างความหลากหลายและประหลาดใจให้กับฝ่ายตรงข้ามได้เป็นอย่างดี (บางครั้งคนที่ประหลาดใจกลับเป็นเราเอง)

จุดอ่อน > การ์ดส่วนมาเป็นส่วนเติมเต็มของ Deck ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ค่อยมีการ์ดที่เอาไปเป็นรากฐานของ Deck ได้ ทั้งนี้เมื่อเทียบกับชุดอื่นการ์ด Common และ Rare ค่อนข้างอ่อนแอ และต้องอาศัยความชำนาญในการใช้
------------------------------------

สรุป

  โดยส่วนตัวเห็นว่าการตั้งตัวที่สะดวกที่สุดสำหรับผู้เล่นใหม่คือการเปิดซอง อย่างไรก็ตามการเปิดซองไม่ใช่ว่าจะเปิดประปรายตามสายลม แต่สิ่งแรกที่ควรทำคือ การตั้ง Focus ในการจัดเดค นั่นคือการ Focus ทรัพยากรทั้งหมดที่มีไปยังการพัฒนา Deck ในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เพื่อสร้าง Deck หลักที่พอไปวัดไปวา ฟาดปากคนอื่นได้อย่างสูสีให้เร็วที่สุด เพื่อ Shift เป้าหมายจากการเก็บ Quest ประจำวัน ไปสู่การไต่แรงค์ เพื่อเอาหีบท้ายซีซัน ซึ่งมีความดุเดือดและต้องการการ์ดระดับสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  ซึ่งแนวทางการตั้ง Focus เพื่อการจัด Deck สามารถติดตามต่อได้ใน Entry หน้าครับ

-------------------------------------
PS : ข้อแนะนำและข้อสังเกตุใน Entry นี้มาจากความเห็นส่วนตัวและประสบการณ์ของผมเอง โปรดใช้จักรยานเอ้ย ! วิจารณญาณในการอ่าน

Picture Credit : http://www.hearthpwn.com/